วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาระงานที่ 3 ส่วนที่ 2

ภาพที่ 1 แสดงโครงสร้างของดีเอ็นเอ

   โครงสร้างของดีเอ็นเอในสภาพธรรมชาติส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเกลียวคู่ (double helix) ประกอบด้วย สายดีเอ็นเอสองสายที่กลับทิศทางกัน (antiparallell) พันกันเป็นเกลียวโดยมีเบสที่เข้าคู่กัน(complementary bases) ซ้อนกันเป็นแกนกลางของเกลียวคู่เบสอะดีนีนจะจับคู่กับไทมีนและกวานีนจะจับคู่กับไซโทซีน การจับคู่เบสแบบนี้ เรียกว่า การจับคู่เบสแบบวัตสันและคริก (Watson-Crick base-pairing) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างสายดีเอ็นเอ สองสายหรือระหว่างสายดีเอ็นเอหนึ่งสายกับสายอาร์เอ็นเอหนึ่งสาย หรือแม้แต่สายดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ 

ภาพที่ 2 แสดงสายเดียวที่พับกลับเข้าหาตัว
                               ที่มา : http://learners.in.th/file/dawood/view/82986



ภาพที่ 3 แสดงการเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างคู่เบสในโครงสร้างเกลียวคู่ของ DNAที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/28/P_Untitled-32.html


ภาพที่ 4 แสดงการจับคู่กันของเบสอะดีนีนกับไทมีน และ กวานีนกับไซโตซีน

ภาพที่ 5 แสดงการจับคู่เบส
ที่มา:http://imap.www.vcharkarn.com/lesson/view.php?id=1307

           RNA เป็นพอลิเมอร์ที่มีการเชื่อมต่อของนิวคลีโอไทด์ภายในสายกรดนิวคลีอิกคล้ายกับ DNA แต่โครงสร้างของ RNA ประกอบด้วยสายพอลินิวคลีโอไทด์ เพียงสายเดียวและมีเบสอะดีนีน กวานีน ไซโตซีนและ ยูราซิลเท่านั้น

คำถาม   
1.โครงสร้างของดีเอ็นเอในสภาพธรรมชาติส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นอย่างไร
2.การคู่เบสอะดีนีนจะจับคู่กับไทมีนและกวานีนจะจับคู่กับไซโทซีน การจับคู่เบสแบบนี้ เรียกว่า
3.การจับคู่เบส DNAและRNA แตกต่างกันอย่างไร








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น